วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

History

วิชาการถ่ายภาพนั้น ได้มีการพัฒนาต่อเนื่องกันมาหลายร้อยปีตามลำดับ ก่อนที่จะมีกล้องถ่ายภาพเพื่อการบันทึกภาพให้เหมือนจริงนั้นมนุษย์ในสมัยโบราณได้ใช้วิธีการวาดภาพเพื่อบันทึกความทรงจำและใช้ในการสื่อความหมาย ซึ่งการวาดภาพดังกล่าวต้องใช้เวลานานและได้ภาพที่ไม่เหมือนจริงตามธรรมชาติ ตลอดจนปัญหาอื่นๆ ทำให้มนุษย์พยายามคิดค้นหาวิธีการสร้างภาพโดยใช้เวลาให้น้อยลงและให้ได้ภาพที่สมบูรณ์เหมือนธรรมชาติยิ่งขึ้น หลังจากที่มนุษย์ประสบความล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า จนในที่สุดในศตวรรษที่ 19 มนุษย์ก็ประสบความสำเร็จในการคิดค้นกระบวนการสร้างภาพ จากผลของการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ที่ได้พัฒนาความรู้จากศาสตร์ 2 สาขา คือ สาขาฟิสิกส์ ได้แก่เรื่องของแสงและกล้องถ่ายภาพ และสาขาเคมี ในส่วนที่เกี่ยวกับฟิล์มสารไวแสงและน้ำยาสร้างภาพ
          การถ่ายภาพเป็นการรวมหลักการที่สำคัญ 2 ประการเข้าด้วยกันคือ การทำให้เกิดภาพจำลองของวัตถุสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ปรากฏบนฉากรองรับได้และการใช้สื่อกลาง ในการบันทึกภาพจำลองของวัตถุนั้น ให้ปรากฎอยู่ได้อย่างคงทนถาวร 
          ในหลักการข้อแรก คือการทำให้เกิดภาพจำลองของวัตถุสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ปรากฏบนฉากรองรับได้นั้น อริสโตเติล (Aristotle) นักวิทยาศาสตร์ชาวกรีก ได้บันทึกไว้เป็นครั้งแรกเมื่อ 400 ปีก่อนคริสต์ศักราชว่า ถ้าเราปล่อยให้ลำแสงผ่านเข้าไปทางช่องเล็กๆในห้องมืด แล้วถือกระดาษขาวให้ห่างจากช่องรับแสงประมาณ 15 ซ.ม. จะปรากฏภาพบนกระดาษมีลักษณะเป็นภาพจริงหัวกลับ แต่เป็นภาพที่ไม่ชัดเจนนัก [Ibid.]
 
          จากหลักการนี้ต่อมาได้มีการประดิษฐ์เป็นกล้อง ออบสคิวรา (Camera Obscura) ซึ่งเป็นภาษาลาติน แปลว่าห้องมืด นักปราชญ์ชาวอาหรับชื่อ อัลฮาเซน (Alhazen) ได้บรรยายรูปร่างลักษณะของกล้องออบสคิวราไว้ก่อนปี ค.ศ.1039 ว่ามีลักษณะเป็นห้องมืดที่มีรูเล็กๆที่ฝาข้างหนึ่งเมื่อแสงเดินทางผ่านรูเล็กๆ นี้แล้ว สามารถทำให้เกิดภาพจริงหัวกลับบนฝาผนังด้านตรงข้ามได้ 
          ค.ศ.1490 ลิโอนาโด ดา วินซี (Leonardo Da Vinci) 
          ค.ศ.1550 กิโรลาโม การ์แดโน (Girolamo Gardano) 
          ค.ศ.1568 แดนีล บาร์บาโร (Daniel Barbaro)
          ค.ศ.1568 แดติ (Danti) 
          ค.ศ.1568 โยฮานน์ สเตอร์ม (Johann Sturm) 
          ค.ศ.1839 ดาแกร์ (Daguerre) 
          ค.ศ.1840 ฟอกซ์ ทัลบอท (Fox Tallbot) 
  
          หลังจากที่นักวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์ได้พัฒนากล้องออบสคิวราจนสมบูรณ์แบบในต้นศตวรรษที่ 17 แล้ว นักวิทยาศาสตร์สาขาเคมีก็ได้คิดค้นสื่อกลางในการบันทึกภาพจำลองของวัตถุต่างๆ ให้ปรากฎอยู่ได้อย่างคงทนถาวร ตามลำดับดังนี้
          ค.ศ. 1727 โยฮัน เฮนริช ชุลตช์ (Jonhann Heinrich Schulze) 
          ค.ศ. 1777 คาร์ล วิลเลี่ยม ชีล (Carl William Scheele) 
          ค.ศ. 1826 โจเซฟ เนียพฟอร์ เนียพซ์ (Joseph Nicephore Niepce) 
          ค.ศ. 1837 หลุยส์ จาคเคอร์ แมนเดดาแกร์ (Louis Jacque Mande Daguerre) 
          ค.ศ. 1840 วิลเลี่ยม เฮนรี่ ฟอกซ์ ทัลบอท (William Henry Fox Talbot) 
          ค.ศ. 1839 เซอร์ จอห์น เฮอร์เชล (Sir John Herschel) 
          ค.ศ. 1851 เฟรดเดริค สก๊อต อาร์เชอร์ (Frederick Scott Archer) 
          ค.ศ. 1871 ดร.ริชาร์ด ลีช แมดดอกซ์ (Dr. Richard Leach Maddox) 
          ค.ศ. 1978 ชาร์ล เบนเนท (Charles Bennet) 
          ค.ศ. 1873 เฮอร์แมน วิลฮิม โวเกล (Hermann Wilhelm Vogel) 
          ค.ศ. 1888 ยอร์จ อีสต์แมน (George Eastman)
 
         
          วิวัฒนาการของวัสดุไวแสงควบคู่มากับกล้องถ่ายภาพ แม้ว่าในยุคแรกๆ กล้องถ่ายภาพจะมีลักษณะเป็นกล่องไม้สี่เหลี่ยมไม่ประณีตนัก ต่อมาก็ได้พัฒนามาเป็นไม้สักและไม้มะฮ๊อกกานี อุปกรณ์ กลไกประกอบอื่นๆ ก็ทำด้วยทองเหลือง ดูสวยงามขึ้น ในการใช้งาน เช่น การมองภาพ และการปรับความคมชัดก็ใข้ได้สะดวกยิ่งขึ้น ระบบชัตเตอร์ควบคุมปริมาณแสงก็สามารถทำงานได้ถูกต้องแม่นยำ มีการปรับปรุง ให้ฟิล์มมีความไวแสงสูงขึ้นและมีขนาดเล็กลง ในปี ค.ศ. 1925 บริษัท อี.ไลซ์ (E.Leiz) แห่งประเทศเยอรมัน ได้ผลิตกล้อง ไลก้า 1 (Leica 1) ซึ่งเป็นกล้องที่ใช้กับฟิล์มขนาด 35 มม. ที่สมบูรณ์เป็นตัวแรก
          ขณะเดียวกันกับที่มีการผลิตกล้องออกจำหน่ายอย่างแพร่หลาย เลนส์ที่นำมาใช้กับกล้องก็มีการพัฒนาควบคู่มาโดยลำดับ เริ่มจากยุคแรกๆ ที่กล้องใช้เพลทเคลือบสารไวแสง จะใช้เลนส์แบบง่ายๆ มีช่องรับแสงกว้างสุดเพียง f/16 จนในปี ค.ศ. 1940 การผลิตเลนส์ก็มีการพัฒนาขึ้น เลนส์หนึ่งตัวอาจมีแก้วเลนส์หลายชั้น ทำหน้าที่ได้มากขึ้น มีการเคลือบน้ำยาบนผิวหน้าของแก้วเลนส์ ทำให้เลนส์มีคุณภาพในการรับแสงมากขึ้น และยังช่วยลดแสงสะท้อนให้น้อยลง
          การมองภาพและการปรับความคมชัดของกล้องถ่ายภาพโดยใช้ระบบสะท้อนภาพ นับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและเป็นต้นแบบในการผลิตกล้องในปัจจุบัน โดยในปี ค.ศ. 1860 โธมาส ซัทตัน (Thomas Sutton) ช่างภาพชาวอังกฤษ ใช้กระจกเงาช่วยในการสะท้อนภาพให้ปรากฏบนจอมองภาพ และได้พัฒนาแนวคิดใช้ปริซึมห้าเหลี่ยม (Pentaprism) ทำหน้าที่สะท้อนภาพให้เห็นตามความเป็นจริงได้ในระดับสายตา กล้องแบบสะท้อนเลนส์เดี่ยวขนาด 35 มม. กล้องแรก แนะนำในปี ค.ศ. 1937 คือกล้อง คิเน่ เอ็กแซกต้า (Kine Exacta) และกล้องที่ใช้กับฟิล์มขนาด 2 นิ้ว แนะนำครั้งแรกในปี ค.ศ. 1950 คือกล้อง ฮาสเซลแบลด (Hasselblad) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิตกล้อง แบบสะท้อนเลนส์เดี่ยว (Single Lens Refles - SLR) จนเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกในปัจจุบัน

วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Do you like a take photo ? :)





อยากเป็นช่างภาพ ถ่ายรูปให้คนอื่นสวยๆ ถ่ายรูปให้ตัวเองสวยๆ แต่ทำไม๊ทำไม ถ่ายออกมาทีไร เห่ยสนิททุกทีสิน่า กล้องก็ตัวเดียวกัน แต่พออีกคนเอาเอาไปถ่ายปั๊บ มุมกล้องสวยงาม นางแบบพอใจทันที ..ใครที่เจอปัญหาานี้ วันนี้มีพื้นฐานช่างภาพมาฝากค่ะ
การที่เราจะถ่ายภาพบุคคล(โดยเฉพาะอย่างยิ่ง..นางแบบ) ให้ได้ดี..ให้ออกมาสวยเป็นที่น่าพอใจ(ของตัวแบบเอง) นั้น ตัวช่างภาพเองจะต้องคำนึงถึงเทคนิคต่าง ๆ เหล่านี้..

การทิ้งฉากหลัง หรือ ละลายฉากหลัง
ดีตรงที่จะทำตัวแบบเด่น ไม่มีฉากหลังรก ๆ มาแย่งสายตา 
แต่ในบางกรณี..หากฉากหลังไม่แย่งสายตา หรือ เป็นลักษณะฉากหลังที่สามารถที่จะเล่าเรื่องราวได้ ก็ถือได้ว่า ?เป็นภาพที่สมบูรณ์? เช่นกัน

แสงสีของฉากหลัง
แสงสีของฉากหลังที่ดี ก็คือ แสงสีของฉากจะต้องมืดกว่าค่าแสงเฉลี่ยของหน้านางแบบ และสว่างกว่าค่าแสงที่ผมส่วนมืดของนางแบบ (ในบางกรณี..เราจะอาจกำหนดให้ฉากหลังชัดก็ได้ หากฉากหลังมีความน่าสนใจ แต่ถ้าหากฉากหลังนั้นมีลักษณะไม่สวยงาม ยุ่งเหยิง รวมทั้งจะไปแย่งความเด่นของตัวแบบไปโดยไม่จำเป็นแล้ว ก็ให้ใช้วิธีการละลายฉากหลัง หรือ เลี่ยง/หลบฉากหลังแทน)

อย่าให้ตัวแบบ/นางแบบกลายเป็นคนพิการ
ถ่ายรูปคนอย่าทำให้นางแบบเป็นคนพิการเด็ดขาด นั่นคือ อย่าให้ปลายมือ ปลายเท้า ข้อศอกขาดพยายามเก็บเข้ามาในเฟรมให้หมด ถ้าจะตัดส่วนไม่เอาไว้ในเฟรมก็ต้องตัดให้เห็นว่าจงใจตัด เช่น ตัดสูงกว่าศอกและเข่าแต่ประเภทเห็นทั้งตัว ยกเว้นนิ้วเท้าอย่างนี้ไม่ควรตัดอย่างเด็ดขาด
อย่าให้ตัวแบบคอขาดถ้าฉากหลังเป็นท้องฟ้า ทะเล ขอบฟ้า หรืออะไรก็ตาม ที่มีเส้นนอน พยายามอย่าจัดให้พาดผ่านคอนางแบบเด็ดขาด เพราะจะทำให้ได้ภาพในลักษณะ นางแบบคอขาด
ถ้าจะให้ที่สุดดีควรจัดให้เส้นนอนอยู่สูงกว่าระดับศีรษะ หรือ ต่ำกว่าไหล่จึงจะทำให้ภาพดูดีขึ้น

การวัดแสงที่หน้าให้ โฟกัสไปที่ลูกตาเป็นสำคัญ
ถ่ายรูปลูกตาต้องชัดเสมอ ถ้าหากไม่ชัดก็จะต้องมีเหตุผลมารองรับว่า...ทำไมถึงอยากให้ชัด
ใบหน้าจะเป็นจุดแรกที่คนมอง อย่างน้อยที่สุด เราจะต้องเซ็ทให้แสงที่หน้าพอดีเสมอ ยกเว้นในกรณีที่เจตนาให้มืด หรือสว่างกว่าปกติ...แต่ก็ต้องมีเหตุผลมารองรับเสมอ

จะเลือกขวา หรือ ซ้าย ดี
ปกติแล้วใบหน้าของคนเราทั้งสองซีก สวยไม่เท่ากัน เรื่องนี้ช่างภาพเองจะต้องอาศัยการพินิจพิจารณาให้ดี ๆ หลังจากนั้นจึงค่อยพยายามจัดกล้องให้อยู่ฝั่งที่สวยกว่า หรือจัดแสงหลักให้อยู่ฝั่งที่สวยกว่า

ตาโตสิ..ดูดีกว่า
ดังที่กล่าวข้างต้นแล้วว่า ใบหน้าของคนเราทั้ง 2 ซีก..สวยไม่เท่ากัน? คำถาม แล้วเราจะสังเกตได้อย่างไรล่ะ ใบหน้าซีกที่สวยกว่าดูไม่ยากครับ..มันมีเคล็ดลับอยู่ว่า ให้ดูที่ลูกกะตา ?หากลูกตาข้างไหนโตกว่า..ใบหน้าข้างนั้น คือ ข้างที่สวยกว่า? (อันนี้...ถือเป็น ?เคล็ดลับ? ที่รู้กันในหมู่ช่างภาพระดับเซียน ๆ ทั้งหลายครับ)

ให้แสงครึ่งหน้า
ในกรณีที่สภาพของแสงที่ตกกระทบบนใบหน้าทั้งสองฟากมีความต่างกันมาก ผลที่ออกมาก็คือ ซีกหนึ่งสว่างจ้า แต่อีกหนึ่งมืด หากมีสภาพแสงในลักษณะนี้ ประการแรกให้ถามตัวแบบว่า ชอบสภาพแสงในลักษณะนี้หรือไม่ สภาพที่แหล่งกำเนิดแสงอยู่ด้านข้าง หากดูแล้วเห็นว่าจะทำให้ตัวแบบบถ้าดูแล้ว ดูไม่ดี เราสามารถกำหนดเทคนิคให้ตัวแบบหันหน้าเข้าหาแสงเล็กน้อยก็จะดูขึ้นมากทีเดียว

อย่าให้นางแบบหน้ามืด
หากจำเป็นที่เราจะต้องถ่ายภาพย้อนแสง ก็ให้ Fill flash เพื่อลบเงา(เปิดแสง)ที่ตัวแบบ (ยกเว้นในกรณีที่เราต้องการในลักษณะ Silhouette ก็ว่าไปอย่าง)

เงยหน้านิดนึง..แล้วจะดี
กำหนดให้ตัวแบบเงยหน้าขึ้นนิดนึง ภาพจะออกมาดูดีกว่าหน้าตรง หรือก้มหน้างุด ๆ (ยกเว้นเจตนาให้ได้ภาพที่แสดงออกซึ่งอารมณ์อื่นใด) เคล็ดลับหนึ่งในการดูว่าใบหน้าข้างไหนสวยกว่ากัน ก็คือ ให้สังเกตที่มุมปากเวลายิ้มขอวตัวแบบ (มุมปากข้างไหนยกสูงกว่ากัน ก็ข้างนั้นแหละ)
หนูไม่ใช่ภาพการ์ตูน(ผมดำ)นะนางแบบไม่ใช่ตัวการ์ตูน ดังนั้นเส้นผมของนางแบบจึงควรจะเห็นเป็นเส้นๆ ไม่ใช่ดำเป็นปื้น ถ้ามองแล้วเห็นผมดำเป็นปื้น ให้จัดแสงใหม่ ให้แสงกระทบผมให้ดี หรือหรี่ช่องรับแสงลงนิดนึงเพื่อให้ผมเป็นเส้น หรือ ใช้เทคนิค Rim Light นั่นเอง (ซึ่งการใช้เทคนิคนี้...มีการวัดแล้ว สรุปว่าได้ว่าจะทำให้ตัวแบบ(นางแบบ)สวยขึ้น 18.75% รวมทั้งจะทำให้ผมสวยขึ้น 33.29%... (ว่าไปนั่น)

ไม่ใช่ทำบัตรประชาชนนะ
ควรหลีกเลี่ยงการถ่ายแบบตรง ๆ เหมือนถ่ายรูปติดบัตรประชาชน ทั้งนี้เพราะการที่จะถ่ายมุมหน้าตรงให้สวยนั้นเป็นเรื่องค่อนข้างยาก (แต่หากถึงจะถ่ายมุมตรงก็สวย มุมอื่นก็มักจะถ่ายได้สวยเช่น ลองเปลี่ยนมุม หรือ ลองหามุมสวยอื่น ๆ ดูบ้าง

ทิศทางแสง
พยายามเลี่ยงแหล่งกำเนิดแสงซึ่งอยู่หน้าตรง ตรงหลัง ด้านบน ด้านล่าง เพราะแหล่งกำเนิดแสงในลักษณะนี้ ถ่ายให้สวยยาก (ยกเว้นภาพที่เจตนาให้เป็นเช่นนี้โดยเฉพาะ)
พยายามกำหนดให้ทิศทางแสงเข้าด้านข้าง เฉียง ๆ (สภาพแสงธรรมชาติที่เหมาะสมเช่นนี้ ก็คือ ในช่วงเวลาเช้าไม่เกิน 9 โมง และช่วงเวลาเย็น เลย 5 โมงไปแล้ว)
หรือ อีกกรณีหนึ่ง ก็คือ เลือกสภาพแสงเกลี่ย ๆ นุ่ม ๆ เช่น ในสภาพแสงรำไร ใต้ชายคา หรือ ในวันที่ฟ้าครึ้ม หรือ ให้เกลี่ยแสงโดยใช้แผ่นรีแฟล็ก (หรือแก้โดยการ fill flash : โดยการใช้กระดาษขาวมาทำเป็นกระบัง(ป้อง)ไว้เหนือ flash...และให้เงยหน้า flash ขึ้นด้านบน แล้วยิงสะท้อนแสงลงมา)

วัดแสงอย่างไร
ในการถ่ายภาพบุคคล (โดยเฉพาะนางแบบ) นิยมวัดแสงแบบเฉพาะจุดที่หน้าเป็นสำคัญ หลังจากวัดแสงได้แล้วก็ให้แล้วกดปุ่ม AE ล็อค(ค่าแสง) จากนั้นจัดองค์ประกอบใหม่ (หรือในกล้องบางรุ่นอาจมีฟังก์ชั่นพิเศษ เช่น มีระบบ FlexiZone (CANONX หรือ ฟังก์ชั่น Area (FUJI) เป็นต้น) 
ถ่ายไปเรื่อย ๆ ถ้าเปลี่ยนมุม หรือค่าแสงเปลี่ยน ก็เล็ง แล้วกดใหม่

ใช้เลนส์ช่วงมุมกว้าง หรือ ช่วงเทเล...ดี
การถ่ายภาพคนให้ดูดี มักนิยมใช้กันในช่วง 85-145 มม. ทั้งนี้เพราะในช่วงเทเลนั้นจะได้ภาพที่ดี ให้สัดส่วนสวยที่สุด รวมทั้งทิ้งฉากหลังได้ดี ให้อารมณ์ได้นุ่มนวลดี เห็นนางแบบได้ชัดเต็มตา 
ในการถ่ายภาพบุคคลนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องใช้กว้างสุดเสมอไป ให้พิจารณาเลือกเอาตามความเหมาะสม เช่น f/5.6-8 ในช่วง 14 มม. และ f/8-16 สำหรับช่วง 50 มม. ส่วนเลนส์อื่น ๆ ก็ให้อาศัยหลักการคำนวณคล้าย ๆ กัน เช่น ช่วงรับแสงกลาง ๆ ประมาณ 2 สต็อป จากกว้างสุด ถึง 2 สต็อปจากแคบสุด เป็นต้น

ประกายตา
ยิ่งมีประกายตาวาววับ..ยิ่งสวย พยายามเลือกมุมถ่าย หรือเปิดแฟลช หรือใช้รีแฟล็กช่วยบ้าง เพื่อให้ตามีประกาย

มุมสวย/ไม่สวย
แต่ละคนมักจะมีมุมสวย และมุมไม่สวยประจำตัวอยู่ ช่างภาพที่ดีจะต้องมีเซนต์ตรงนี้ นั่นคือ จะต้องพยายามหาจุดเด่นนี่ให้เจอ เพราะนั่นคือ ตำแหน่งวางกล้องนั่นเอง 
ตำแหน่งยอดนิยมในการวางกล้อง ก็คือ ตำแหน่งระดับปลายจมูกของนางแบบ สูง หรือต่ำกว่าไม่มากนัก ไม่เกินตา และปาก ยกเว้นในกรณี หากพิจารณาแล้วเห็นว่า ?นางแบบมีมุมสวยเป็นพิเศษ? หรือ ?ต้องหลบเป็นพิเศษ ก็อาจจะต้องกด หรือเงยกล้อง เข้าช่วย
มุมมหาชนสำหรับถ่ายภาพนางแบบ คือ มุมหน้าเฉียง ตำแหน่งกล้องเล็งไปที่แนวแบ่งครึ่ง ระหว่างสันจมูก และดวงตา มุมนี้ส่วนใหญ่มักจะสวย 
ก้มนิด เงยหน่อยจะถ่ายมุมก้ม หรือเงย ดี ไม่ได้ถือเป็นกฎตายตัวแต่อย่างใด ทั้งนี้ให้พิจารณาปัจจัยเอื้ออย่างอื่นด้วย กล่าวคือ ให้พิจารณาถึงโครงหน้าของนางแบบเป็นสำคัญ 
หลักการ ก็คือ อะไรไม่สวยก็ผลักไปให้ไกล ๆ จากกล้อง เช่น ถ้าคางไม่สวย หรือ กรามกว้าง ก็ให้ก้มหน้านิด ๆ นึง จะได้ไม่เห็นกราม หรือ ผู้ที่หน้าผากเถิก ให้เงยขึ้นมาหน่อย เป็นต้น
เคล็ดลับ : การก้มหน้าจะทำให้ตาโต และอยู่ใกล้กล้อง ซึ่งจะเป็นจุดดึงดูดสายตามากขึ้น

ที่ควรปิดก็ให้ปิด... ที่ควรเปิดก็เปิด
เช่น มีช่วงโหนกแก้มสูง หรือมีกรามกว้าง..ก็ให้ดึงผมลงมาปิดข้างแก้มสักหน่อยก็ดี หรือหันข้างหลบเอาไหล่บังนิดนึง เอียงหน้าหน่อยก็ได้ 
หูกาง.. ดูแล้วเด่นเกินไป ก็ให้เกลี่ยผมมาปิดซะหน่อย หรือจะใช้เทคนิคนิคเบี่ยงข้างหลบมุมไป (อย่าให้เห็นพร้อมกันทีเดียวทั้งสองข้าง)
แก้มป่องดูเป็นราย ๆ ไป เช่น บางคนถึงแก้มป่องแต่ก็น่ารัก ก็ให้เสยผมเปิดแก้มป่องไปเลยเพราะจะยิ่งช่วยเพิ่มความน่ารักขึ้นไปอีก
ไม่ควรใส่แว่นตาดำถ่ายภาพอย่างยิ่ง หรืออาจจะเลี่ยงโดยให้ดันขึ้นไปเหน็บบนศรีษะ บางทีจะช่วยให้ดูสวยเก๋ เท่ห์ไปอีกแบบ (ก็ได้)

Properties
ในที่นี้หมายถึงอุปกรณ์ประกอบฉากนั่นเอง ดอกไม้ เครื่องประดับ หนังสือ กระเป๋า หมวก ตุ๊กตา หมอนอิง รวมถึงอุปกรณ์อื่นใด โดยพยายามเลือกอันที่ดูแล้วน่ารัก ๆ เหมาะกับสถานที่ และนางแบบ
อุปกรณ์ประกอบฉากเหล่านี้ ถ้าให้นางแบบได้ถือ อุ้ม หิ้ว หรือ อิง แอบ แนบ วาง ก็จะทำให้นางแบบไม่เขินมาก และช่วยสร้างบรรยากาศ และเรื่องราวได้ดีอีกด้วย 

ถ่ายคร่อม
การถ่ายคร่อม ให้ใช้หลักง่าย ๆ นั่นก็คือ ใช้แสงง่าย ๆ วัดแสงพื้นๆ ให้หน้าสว่างพอดี ๆ โอเวอร์นิด และอันเดอร์หน่อย 
*หมายเหตุ : ความหมายของคำว่า ?ถ่ายคร่อม? ในที่นี้หมายรวมไปถึง ให้คร่อมแอ๊คชั่นของนางแบบเวลาโพสท่าด้วย เช่น ให้ตั้งเป็นถ่ายต่อเนื่อง หรือ ถ่ายเป็นชุด ชุดละอย่างน้อย 2-3 รูป เพื่อเลือกแอ๊คชั่นและอารมณ์ที่ดีที่สุด หมุนกล้องแนวตั้ง/แนวนอน ซูมเข้า/ออก เปลี่ยนองค์ประกอบ ขยันขยับย้ายจุดวางกล้องซ้าย/ขวา บน/ล่าง กด/เงย ไปยังมุมสวยมุมอื่น หรือไปยังฉากหลังอื่น ๆ ดูบ้าง
อย่าขี้เหนียวหน่วยความจำ/ฟิล์ม/หน่วยความจำ จนเกินไปนัก ทั้งนี้เพราะเราอาจจะได้ภาพที่พอใจจริง ๆ เพียงไม่กี่ภาพเท่านั้นจากหลาย ๆ ภาพนั้นก็ได้ 

โพสท่า
พยายามจัดวางท่าทางให้เป็นธรรมชาติ อย่าให้ดูว่าเจตนาเกินไป ให้ดูแล้วไม่ขัด ไม่งั้นจะทำให้ภาพที่ออกมาจะดูแข็งกระด้าง ฯลฯ
เคล็ดลับ : ลองหาจังหวะดี ๆ และใช้การถ่ายแบบ Candid ดูบ้าง เพราะการถ่ายในลักษณะนี้มักจะถ่ายทอดอารณ์ได้กลมกลืน ดูดี...ไม่น่าเบื่อ

แต่งตัว แต่งหน้าซะหน่อย
หากเป็นไปได้พยายามแต่งตัวให้เข้ากับบุคลิก และให้ตัวแบบได้ปัดหน้าทาแป้ง ฯลฯ ทั้งนี้เพราะอย่างน้อยที่สุดการแต่งหน้าก็เพื่อกลบจุดด้อยบนใบหน้า..ไม่ให้เด่นเกินไป นั่นเอง

คุยกันก่อน...
ก่อนที่จะเริ่มถ่ายภาพ ช่างภาพที่มีเซนต์ซะหน่อย ควรจะชวนนางแบบสนทนาพูดคุยซะก่อน เหตุผลก็เพื่อไม่ให้นางแบบรู้สึกเขินอาย หรือรู้เกร็งจนเกินไป ซึ่งอาจจะแสดงท่าทางออกมาอย่างไม่เป็นธรรมชาติระหว่างการถ่ายภาพ รวมทั้งและจะได้ทำความเข้าใจกันด้วยว่าจะให้รูปออกมาสไตล์ไหน อารมณ์ไหน